วันเสาร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2557

กัญชา (Cannabis)


6. สารยาเสพติดอันตราย?กัญชา (Cannabis) :

  • กัญชา มีลักษณะใบจะแยกออกเป็นแฉกประมาณ 5-8 แฉกคล้ายใบมันสำปะหลังที่ขอบใบทุกใบจะมีรอยหยัก?ออกดอกเป็นช่อเล็กๆ ตามง่ามของกิ่งและก้าน ส่วนที่คนนำมาเสพได้แก่ส่วนของกิ่ง ก้าน ใบ?และยอดช่อดอกกัญชา
  • โดยนำมาตากหรืออบแห้ง แล้วบดหรือหั่นให้เป็นผงหยาบๆ จากนั้นจึงนำมายัดไส้บุหรี่สูบ ยังอาจพบในรูปของ ?น้ำมันกัญชา? (Hashish Oil) ซึ่งมีลักษณะเป็นของเหลวสีน้ำตาลเข้มหรือสีดำ
ฤทธิ์ทางเสพติด
  • กัญชาเป็นยาเสพติดให้โทษ ที่ออกฤทธิ์หลายอย่างต่อระบบประสาทส่วนกลาง คือ ทั้งกระตุ้นประสาทกดและหลอนประสาท สารออกฤทธิ์ที่อยู่ในกัญชามีหลายชนิด แต่สารที่สำคัญที่สุดที่มีฤทธิ์ต่อสมองและทำให้ร่างกาย อารมณ์ และจิตใจเปลี่ยนแปลงไป
  • ในเบื้องต้นจะออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท ทำให้ผู้เสพตื่นเต้น ช่างพูด และหัวเราะตลอดเวลา ต่อมาจะกดประสาท ทำให้ผู้เสพมีอาการคล้ายเมาเหล้าอย่างอ่อนๆ?เซื่องซึม และง่วงนอน หากเสพเข้าไปในปริมาณมากๆ จะหลอนประสาททำให้เห็นภาพลวงตา หูแว่ว ความคิด?สับสน ควบคุมตนเองไม่ได้??ทำลาย
    ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำลายสมอง ปอด
โทษทางกฎหมาย
  • จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522

ฝิ่น (Opium)


5. สารยาเสพติดอันตราย?ฝิ่น (Opium)
  • ฝิ่นเป็นสารประกอบชนิดหนึ่ง ซึ่งได้จากยางของผลฝิ่น ในเนื้อฝิ่นมีสารเคมีผสมอยู่มากมาย ซึ่งประกอบด้วย โปรตีน?เกลือแร่ ยางและกรดอินทรีย์เป็นแอลคะลอยด์ (Alkaloid) ซึ่งเป็นตัวการสำคัญ ที่ทำให้ฝิ่นกลายเป็นสารเสพติดให้โทษ?ที่ร้ายแรง และเป็นยาเสพติดที่เป็นต้นตอของยาเสพติดร้ายแรง เช่น มอร์ฟีน เฮโรอีน และโคเคอีน มีการลักลอบปลูกฝิ่น?มากทางภาคเหนือของประเทศไทยบริเวณแนวพรมแดน ที่เรียกว่า “สามเหลี่ยมทองคำ”
ฤทธิ์ในทางเสพ?
  • ฝิ่นออกฤทธิ์กดระบบประสาท มีอาการเสพติดทั้งทางร่างกายและจิตใจ มีอาการขาดยาทางร่างกาย หากเสพเกินขนาด?จะทำให้กดระบบหายใจทำให้เสียชีวิต จิตใจเลื่อนลอย ง่วง ซึม แก้วตาหรี่ พูดจาวกวน ความคิดเชื่องช้า ไม่รู้สึกหิวชีพจรเต้นช้า
โทษทางกฎหมาย
  • จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 2 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522

โคเคน (Cocaine)


4. สารยาเสพติดอันตราย?โคเคน (Cocaine) :

  • โคเคน หรือ โคคาอีนเป็นยาเสพติด ที่สกัดได้จากใบของต้นโคคา??ซึ่งเป็นต้นไม้ที่ลักลอบปลูกมากในประเทศแถบอเมริกาใต้ เช่น เปรู โบลิเวีย และโคลัมเบีย เป็นต้น
  • โคเคนมีชื่อเรียกในกลุ่ม?ผู้เสพว่า COKE, Snow, Speed Ball, Crack
  • โคเคนที่พบในประเทศไทย มี 2 ชนิด ได้แก่?1. โคเคนชนิดผง มีลักษณะเป็นผงละเอียดสีขาว รสขม ไม่มีกลิ่น?2. โคเคนรูปผลึกเป็นก้อน (Free base, Crack)
ฤทธิ์ในทางเสพติด
  • โคเคนออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท มีอาการเสพติดทางร่างกายเล็กน้อย ขึ้นอยู่กับวิธีการและปริมาณที่เสพ มีอาการทาง?จิตใจ อาจมีอาการขาดยาทางร่างกายแต่ไม่รุนแรง หัวใจเต้นแรง ความดันโลหิตสูง กระวนกระวาย ตัวร้อนมีไข้?นอนไม่หลับ มีอาการซึมเศร้า ผนังจมูกขาดเลือด ทำให้เยื่อบุโพรงจมูกฝ่อ ขาดหรือทะลุ สมองถูกกระตุ้นอย่างรุนแรง?ทำให้เกิดอาการชักมีเลือดออกในสมอง เนื้อสมองตายเป็นบางส่วน หัวใจถูกกระตุ้นอยู่เสมอ กล้ามเนื้อหัวใจเสื่อมลง?ทีละน้อยจนหัวใจบีบตัวไม่ไหวทำให้หัวใจล้มเหลว ผลจากการเสพเป็นระยะเวลานาน ทำให้เกิดอาการโรคจิตซึมเศร้า
โทษทางกฎหมาย
  • จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 2 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522

ยาอี ยาเลิฟ เอ็คซ์ตาซี (Ecstasy)


3. สารยาเสพติดอันตราย?ยาอี ยาเลิฟ เอ็คซ์ตาซี (Ecstasy)

  • ยาอี ยาเลิฟ เอ็คซ์ตาซี (Ecstasy) เป็นยาเสพติดกลุ่มเดียวกัน จะแตกต่างกันบ้างในด้านโครงสร้างทางเคมี
  • ลักษณะ?ของยาอี มีทั้งที่เป็นแคปซูล
  • และเป็นเม็ดยาสีต่าง ๆ แต่ที่พบในประเทศไทย ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นเม็ดกลมแบน?ผิวเรียบ และปรากฏสัญลักษณ์บนเม็ดยาเป็นรูปต่าง ๆ เช่น กระต่าย ฯลฯ
ฤทธิ์ในทางเสพติด?
  • จะออกฤทธิ์ภายในเวลา 45 นาที และฤทธิ์ยา?จะอยู่ในร่างกายได้นานประมาณ 6-8 ซม.แพร่ระบาดในกลุ่มวัยรุ่นที่ชอบเที่ยวกลางคืน
  • ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาทในระยะสั้น ๆ จากนั้นจะออกฤทธิ์หลอนประสาท มีอาการติดยาทางจิตใจ ไม่มีอาการขาดยา?ทางร่างกาย เหงื่อออกมาก หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง ระบบประสาทการรับรู้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งหมด?(Psychedelic) ทำให้การได้ยินเสียงและการมองเห็นแสงสีต่าง ๆ ผิดไปจากความเป็นจริง เคลิบเคลิ้ม ควบคุมอารมณ์ไม่ได้
โทษทางกฎหมาย
  • จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 1 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522



ยาบ้า (Amphetamine)


2.?สารยาเสพติดอันตราย ยาบ้า (Amphetamine)?

  • ยาบ้า เป็นชื่อที่ใช้เรียกยาเสพติดที่มีส่วนผสมของสารเคมี ประเภทแอมเฟตามีน (Amphetamine)
  • ยาบ้า จัดอยู่ในกลุ่มยาเสพติดที่ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท มีลักษณะเป็นยาเม็ดกลมแบนขนาดเล็ก?มีสีต่างๆ กัน เช่น สีส้ม สีน้ำตาล
  • มีสัญลักษณ์ที่ปรากฏบนเม็ดยา เช่น ฬ, M, PG, WY สัญลักษณ์รูปดาว เป็นต้น
ฤทธิ์ในทางเสพติด :
  • ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท มีอาการเสพติดทั้งทางร่างกายและจิตใจ ไม่มีอาการขาดยาทางร่างกาย
  • เมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายในระยะแรกจะออกฤทธิ์ทำให้ร่างกายตื่นตัว หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง ใจสั่น ประสาทตึงเครียด แต่เมื่อหมดฤทธิ์ยา จะรู้สึกอ่อนเพลียมากกว่าปกติ ประสาทล้าทำให้การตัดสินใจช้า และผิดพลาด เป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงได้
  • ถ้าใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน จะทำให้สมองเสื่อม เกิดอาการประสาทหลอน เห็นภาพลวงตา หวาดระแวง คลุ้มคลั่ง เสียสติ?เป็นบ้าอาจทำร้ายตนเองและผู้อื่นได้ หรือในกรณีที่ได้รับยาในปริมาณมาก (Overdose) จะไปกดประสาท และระบบการหายใจทำให้หมดสติ และถึงแก่ความตายได้
โทษทางกฎหมาย
  • จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 1 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522




สารยาเสพติดอันตราย

สารยาเสพติดอันตราย

10 สารยาเสพติดอันตราย teen.mthaiimages (2)
ตอนนี้รู้กันดีอยู่แล้วว่า โลกสังคมออนไลน์ นั้นมันรวดเร็วซะเหลือเกิน ไม่ว่าจะเม้น จะแชร์ต่างๆ นาๆ มีทั้งเรื่องการทำความดี-ความชั่ว มีให้เห็นกันรวดเร็วมากๆ อย่างเช่น กรณีสดๆ ร้อนๆ ที่มีหญิงสาวให้เด็กชายซึ่งอายุเพียงไม่กี่ขวบ ได้สอนให้ทดลองสารเสพติดชนิดหนึ่ง! คลิปนี้ทำให้คนไทยแชร์คลิปกันอย่างรวดเร็ว?และ รุมว่าหญิงสาวคนนี้อย่างรุนแรง! ว่าเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ เพื่อนๆบางคนอาจจะยังไม่รู้ว่า สารเสพติด นั้นมีโทษอย่างไร 
ทางที่ดีอย่าไปอยากรู้ อยากลอง ในสิ่งที่เรารู้ดีอยู่แล้วว่ามัน “อันตราย” ลองง่ายแต่เลิกยากนะจ๊ะ!!